วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ความสัมพันธ์ระหว่างดินโดนีเซีย และ ไทย ในด้านต่างๆ



ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
ประเทศอินโดนีเซียมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อไทยมาโดยตลอด นั้น จึงทำให้เห็นว่าถ้าเราจะไปทำการค้าในประเทศอินโดนีเซียเมื่อเปิดประชาคมอาเซียน ก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะว่าเราได้สร้างความเชื่อมั่นที่ดีต่อกันมาโดยตลอด เราไปรู้ถึงความสัมพันธ์ที่เรามีต่ออินโดนีเซียกันเลยค่ะ
ภาพรวมความสัมพันธ์ทั่วไป
ไทยสถาปนาความสัมพันธ์กับอินโดนีเซียเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2493 และฉลองครบรอบ 60 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในปี 2553

ความสัมพันธ์ด้านการเมืองและความมั่นคง
อินโดนีเซียเป็นพันธมิตรที่สำคัญของไทยทั้งในกรอบอาเซียนและในเวทีระหว่างประเทศอื่น ๆ และการที่อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก ท่าทีของอินโดนีเซียเกี่ยวกับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จชต.) ย่อมมีผลต่อท่าทีของประเทศมุสลิมโดยเฉพาะในกรอบ OIC ซึ่งที่ผ่านมาอินโดนีเซียให้ความร่วมมือที่ดี นอกจากนี้ มีความร่วมมือในการส่งเสริมด้านการศึกษาและมุสลิมสายกลาง (ระหว่างศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) กับ Nadhalatul Ulama (NU) และ Muhammadiyah) ในรูปทุนการศึกษาจำนวนประมาณ 200 ทุน แก่นักศึกษาไทย จชต. ในสาขาต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ด้านศาสนา

ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ

1. การค้า
อินโดนีเซียเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญอันดับ 3 ของไทยในอาเซียน รองจากมาเลเซียและสิงคโปร์ และเป็นคู่ค้าอันดับที่ 8 ของไทยในโลก ในปี 2554 มูลค่าการค้าทวิภาคีระหว่างไทยกับอินโดนีเซีย เท่ากับ 17,448 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการนำเข้าจากอินโดนีเซีย 7,370 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่งออก 10,078 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยได้ดุลการค้า 2,708 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกของไทยไปอินโดนีเซียที่สำคัญ ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำตาลทราย เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ สินค้านำเข้าจากอินโดนีเซียที่สำคัญ ได้แก่ ถ่านหิน สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ น้ำมันดิบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์
2. การลงทุน

ในปี 2553 ไทยเป็นประเทศผู้ลงทุนอันดับที่ 15 ในอินโดนีเซีย โดยมีมูลค่าการลงทุน 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนด้านอุตสาหกรรมประมง ปิโตรเคมี เหมืองแร่ และถ่านหิน โดยบริษัทไทยขนาดใหญ่ที่เข้าไปลงทุน อาทิ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เครือซิเมนต์ไทย บ้านปู ธนาคารกรุงเทพ ลานนาลิกไนต์ และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) อินโดนีเซียมีมูลค่าการลงทุนในไทย 12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
3. การท่องเที่ยว 

ในปี 2553 มีนักท่องเที่ยวอินโดนีเซียเดินทางมาไทยจำนวน 281,873 คน และมีนักท่องเที่ยวจากไทยไปอินโดนีเซีย 67,968 คน ในปี 2554 ระหว่างเดือนมกราคม - ตุลาคม มีนักท่องเที่ยวอินโดนีเซียเดินทางมาไทยจำนวน 318,241 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.26 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และระหว่างเดือนมกราคม - กันยายน มีนักท่องเที่ยวจากไทยเดินทางไปอินโดนีเซีย 59,051 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.38 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
4. ประมง
อินโดนีเซียเป็นแหล่งประมงนอกน่านน้ำที่สำคัญของไทย กลไกสำคัญสำหรับความร่วมมือด้านประมงไทย-อินโดนีเซีย ได้แก่ คณะอนุกรรมการว่าด้วยความร่วมมือทางการประมงไทย-อินโดนีเซีย (JC Sub-Committee on Fisheries Cooperation) และการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเพื่อหารือทางเทคนิคด้านประมงระหว่างไทย - อินโดนีเซีย (Senior Technical Consultation Meeting) นอกจากนี้ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา ได้จัดตั้งศูนย์แก้ไขปัญหาการประมงผิดกฎหมายของไทยในอินโดนีเซีย โดยรวมการปฏิบัติงานของศูนย์ฯ เข้ากับศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในอินโดนีเซีย ในขณะที่สถานเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทยได้ตั้งคณะทำงานด้านการประมง (Task Force on Fisheries) เพื่อเป็นหน่วยงานรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการทำประมงของไทยในอินโดนีเซีย การแก้ไขปัญหาประมงของภาคเอกชนไทยในอินโดนีเซีย และรับรองเอกสารการแปลงสัญชาติเรือประมงไทยเป็นเรือประมงอินโดนีเซีย โดยการประสานงานกับกรมเจ้าท่าและกรมการกงสุลได้จัดตั้งคณะทำงานด้านประมง เพื่อจัดทำแนวทางปฏิบัติ ในการให้ความช่วยเหลือลูกเรือประมงไทยที่ตกทุกข์ได้ยาก และ/หรือ เรือประมงไทยที่ถูกจับ
5. พลังงาน
อินโดนีเซียมีทรัพยากรปิโตรเลียมอุดมสมบูรณ์ กระทรวงพลังงานไทยและอินโดนีเซียมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน โดยเฉพาะความร่วมมือด้านน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน โดยกรอบความร่วมมือด้านพลังงาน ได้แก่ Indonesia - Thailand Energy Forum (ITEF) ซึ่งเป็นเวทีให้ผู้แทนจากทั้งสองฝ่ายได้อภิปรายเกี่ยวกับเทคโนโลยี พัฒนาการความร่วมมือ และโอกาสในการลงทุนด้านพลังงานระหว่างกัน ล่าสุด ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุม ITEF ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 12 - 13 กรกฎาคม 2554 ที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี

ความสัมพันธ์ด้านต่างประเทศ
1. การเยือนที่สำคัญ
การเยือนระดับสูงที่สำคัญในปี 2554 ได้แก่ การเยือนอินโดนีเซียอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2554 และการเยือนอินโดนีเซียของนายกรัฐมนตรีเพื่อเข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 19 เมื่อวันที่ 16 -19 พฤศจิกายน 2554 สำหรับฝ่ายอินโดนีเซีย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียได้เยือนไทย เพื่อหารือเกี่ยวประเด็นปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554 และเพื่อเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการสมัยพิเศษ เพื่อหารือเกี่ยวกับท่าทีของอาเซียนต่อการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit - EAS) เมื่อวันที่ 10 - 12 เมษายน 2554
2. การประชุมที่สำคัญ
มีกลไกความร่วมมือทวิภาคีหลัก 2 กรอบ ได้แก่ (1) การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย - อินโดนีเซีย (Joint Commission between the Kingdom of Thailand and the Republic of Indonesia - JC) ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม โดยอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพการประชุม JC ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 1 - 2 กันยายน 2553 และ (2) คณะกรรมการระดับสูง (High Level Committee - HLC) โดยมีผู้บัญชาการทหารสูงสุดของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม ไทยจัดการประชุม HLC ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2554 ที่กรุงเทพฯ







 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น